ประตูในเขตพระบรมมหาราชวัง

เขตพระราชฐานแต่ละชั้นในพระบรมมหาราชวัง มีประตูทางเข้าออกติดต่อกัน ทางเข้าออกแต่ละชั้น มีดังนี้

1. ทางเข้าออกของพระราชฐานชั้นใน

ด้านเหนือ
ประตูดุสิตศาสดา อยู่ระหว่างเขื่อนเพชรและพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยกับพระที่นั่งบรมพิมาน เป็นประตูยอดปรางค์มีพรหมพักตร์ตรงกับประตูศรีรัตนศาสดา

grand palace7

ประตูดุสิตศาสดา
ที่มา : จดหมายเหตุการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์

ประตูสนามราชกิจ ทรงมณฑปยอดปรางค์อยู่ระหว่างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยและพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์ตะวันออก
ประตูพรหมโสภา ทรงมณฑปยอดปรางค์มีพรหมพักตร์อยู่ระหว่างมุขพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์ตะวันตกและพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
ประตูพรหมศรีสวัสดิ์ ทรงมณฑปยอดปรางค์มีพรหมพักตร์อยู่ระหว่างกำแพงแก้วด้านตะวันตกของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทกับทิมแถวพระราชฐานชั้นใน

ด้านตะวันตก
ประตูศรีสุดาวงศ์ เป็นประตูมุขเขตพระราชฐานชั้นในด้านตะวันตก ตรงกับประตูช่องกุดกำแพงพระบรมมหาราชวัง
ประตูยาตรากษัตรี ตรงกับประตูอุดมสุดารักษ์ ประตูกำแพงพระบรมมหาราชวัง
ประตู อนงคลีลา ถัดจากประตูยาตรากษัตรีไปทางใต้

ด้านตะวันออก
ประตูแถลงราชกิจ เป็นประตูซุ้มอยู่ตรงประตูเทวาพิทักษ์ เป็นประตูเข้าสู่สวนศิวาลัย
ประตูราชสำราญ เป็นประตูซุ้มอยู่ตรงกับประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ ประตูกำแพงพระบรมมหาราชวัง

ด้านใต้
ประตูนางในลีลา และประตูกัลยาวดี

2. ทางเข้าออกเขตพระราชฐานชั้นกลาง มีดังนี้

ด้านเหนือ
ประตูพิมานไชยศรี ตรงกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นประตูซุ้มแบบใหม่มีบาน 2 ชั้น
ประตูสุวรรณบริบาล ตรงกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
ประตูศรีรัตนศาสด ตรงกับประตูดุสิตศาสดาเป็นประตูของวัดพระศรีรัตรศาสดาราม ใช้เป็นทางสำหรับฝ่ายในเข้าไปในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อมีพระราชพิธีต่างๆ

ด้านตะวันตก
ประตูศรีสุนทร ตรงกับประตูเทวาภิรมย์ ประตูกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านตะวันตก และตรงกับประตูกำแพงแก้วพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

grand palace8

ประตูศรีสุนทร
ที่มา : จดหมายเหตุการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์

ด้านตะวันออก
ประตูเหล็กเพชร เป็นประตูสู่เขตพระที่นั่งบรมพิมาน

บรรณานุกรม
กรมศิลปากร. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. จดหมายเหตุการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรม, 2525.

 

สงวนลิขสิทธิ์ 2558 หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง ม.ศิลปากร
Designed by themescreative.com