พระที่นั่งในหมู่พระมหาปราสาท

3.พระที่นั่งพิมานรัตยา
สร้างต่อเนื่องกับมุขกระสันของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปทางใต้ สร้างพร้อมกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีพระปรัศว์ซ้ายหลังหนึ่ง พระปรัศว์ขวาหลังหนึ่ง และมีเรือนจันทร์ต่อเนื่องกันอยู่ด้านท้ายพระที่นั่ง พระที่นั่งองค์นี้เคยเป็นพระวิมานที่บรรทมของพระมหากษัตริย์ เมื่อเสด็จมาประทับ ณ พระราชมณเฑียรในหมู่พระมหาปราสาทนี้ ต่อมาในพุทธศักราช 2421 โปรดให้รื้อพระปรัศว์ขวาไปสร้างใหม่ทางเบื้องหลังเรือนจันทร์ท้ายพระที่นั่ง เพื่อใช้สถานที่สร้างเป็นสวน

4. พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
เป็นส่วนสร้างต่อเนื่องกับพระที่นั่งจักรีมาหปรามสาทกับเขตพระราชฐานชั้นในเพื่อใช้ในการจัดเลี้ยง โดยงานแรกที่ใช้พระที่นั่งองค์นี้คืองานถวายเลี้ยงพระกระยาหารค่ำแด่สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีซึ่งเป็นพระราชอาคันตุกะเสด็จมาร่วมฉลองเนื่องในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2549 การก่อสร้างใช้งบประมาณจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และค่าเข้าชมพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรันศาสดาราม การก่อสร้างดำเนินงานมาแล้วเป็นเวลาหลายปีแต่หยุดชะงักไปในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ จึงก่อสร้างไว้เพียงฐานราก ต่อมาจึงได้เรื่องก่อสร้างต่อเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 เพื่อใช้ในพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี รวมระยะเวลาก่อสร้าง 2 ปี โดยรัฐบาลได้ถวายการสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อการก่อสร้างและตกแต่งจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2549 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการตกแต่พระที่นั่งฯในวงเงิน 500 ล้านบาท สำนักพระราชวังได้กราบบังคมทูลพระกรุณา เพื่อทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท นับเป็นพระที่นั่งแห่งแรกที่มีการจัดสร้างในรัชกาลปัจจุบัน ชื่อพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารนี้เดิมเป้นชื่อพระที่นั่งองค์หนึ่งในพระราชมณเฑียรสถานหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท อยู่ทางทิศใต้ของพระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์และพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและใช้เป็นที่รับรองแขกต่าง ๆของพระองค์ แต่ถูกรื้อไปแล้ว

 

บรรณานุกรม
กรมศิลปากร. จดหมายเหตุการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2525.
สรุปผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมาธิการศึกษานโยบายการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์และเกาะรัตนโกสินทร์ (2551-2553) ในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม และ                ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ สำนักกรรมาธิการ 3, 2553.

 

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ 2558 หอสมุดวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง ม.ศิลปากร
Designed by themescreative.com