“บาโรกถิ่นแผ่นดินไหว(Baroque Churches)” เป็นคำที่ใช้เรียกสถาปัตยกรรมแบบบาโรกในฟิลิปปินส์ ซึ่งรับอิทธิพลแบบอย่างมาจากการก่อสร้างสถาปัตยกรรมบาโรกในตะวันตกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อสเปนได้เข้าครอบครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์ จึงได้นำรูปแบบทางสถาปัตยกรรมในการสร้างวัดทางคริสต์ศาสนามาใช้กับฟิลิปปินส์ แต่เนื่องด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน อีกทั้งฟิลิปปินส์เป็นดินแดนแบบหมู่เกาะกลางทะเล ทำให้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวบ่อยครั้ง ดังนั้น การก่อสร้างสถาปัตยกรรมในฟิลิปปินส์จึงมีการปรับเปลี่ยนแบบแผนเดิมที่นิยมกันในโลกตะวันตก มาใช้เป็นแบบประยุกต์ โดยยึดโครงสร้างให้สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ทำให้รูปแบบสถาปัตยกรรมของคริสต์ศาสนาในฟิลิปปินส์ที่สร้างขึ้นในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 – 18 จึงมีรูปแบบที่แปลกไปจากสถาปัตยกรรมบาโรกทั่วไป ทำให้ในภายหลังเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมแบบบาโรกถิ่นแผ่นดินไหว” ซึ่งกลายมาเป็นเอกลักษณ์ของฟิลิปปินส์
ต่อมา ยูเนสโก(UNESCO)ได้ตัดสินคัดเลือกให้ “สถาปัตยกรรมแบบบาโรกถิ่นแผ่นดินไหว” ในประเทศฟิลิปปินส์ทั้ง 4 แห่ง ให้เป็นมรดกโลก(World Heritage Site)เมื่อปีค.ศ.1993 ในฐานะสถาปัตยกรรมชั้นเยี่ยมลักษณะแบบโบสถ์บาโรกในฟิลิปปินส์ ประกอบด้วย
1. โบสถ์ซานอากุสติน(San Agustin Church) ในกรุงมะนิลา
2. โบสถ์เปาไว(Paoay Church) ในจังหวัดอีโลกอส นอร์เต
3. โบสถ์ซานตา มาเรีย(Santa Maria Church) ในจังหวัดอีโลกอส ซูร์
4. โบสถ์เมียเกา(Miag-ao Church) ในจังหวัดอีโลอีโล