สถาปัตยกรรมขอม มีการออกแบบก่อสร้างอย่างมีระเบียบแบบแผน ภายในอาณาบริเวณของปราสาท จึงมีการวางตำแหน่งและการสร้างทางสถาปัตยกรรม ภายใต้คติความเชื่อเรื่องศาสนสถานอันเป็นที่สถิตของเทพเจ้า และเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ในคติการสร้างปราสาท สามารถจำแนกแบ่งแผนผังโครงสร้างได้ 2 แบบใหญ่ๆ คือ
1. แบบแผนผังล้อมรอบจุดศูนย์กลาง ซึ่งมีองค์ปราสาทประธานอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยระเบียงคด อาจมีสระน้ำและกำแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง สถาปัตยกรรมขอมแบบนี้สร้างอยู่บนพื้นราบ
2. แบบแผนผังที่สร้างตรงเข้าสู่จุดศูนย์กลาง เป็นคติความเชื่อเรื่องศาสนสถานที่อยู่บนภูเขา ด้วยความรู้สึกถึงการเดินทางจากพื้นราบของโลกมนุษย์ ไปเฝ้าเทวาลัยอันเป็นที่สถิตของเทพเจ้าที่ประทับอยู่บนสวรรค์อันเป็นที่สูง ตลอดเส้นทางจะนิยมสร้างบันไดทางเดินและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เพื่อนำขึ้นไปสู่ปราสาทประธานที่อยู่บนยอดสูงสุด
ดังนั้น แบบแผนการสร้างสถาปัตยกรรมขอมจึงประกอบไปด้วยส่วนรายละเอียดต่างๆ ดังสามารถอธิบายโดยสังเขป ดังนี้
ปรางค์ประธาน (Prang) เป็นปรางค์องค์กลางที่มีขนาดสูงใหญ่และโดดเด่นมากที่สุด ส่วนใหญ่จะสร้าง ณ ตำแหน่งกึ่งกลางของปรางค์ทั้งหมดภายในปรางค์ประธานเป็นใจกลางสถานอันศักดิ์สิทธิ์(Central sanctuary) คือห้องที่เรียกว่า “ห้องครรภคฤหะ(Garbhagriha)” หรือ “เรือนธาตุ” ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานสัญลักษณ์แห่งองค์เทพหรือประติมากรรมรูปเคารพสูงสุด หากเป็นลัทธิไศวนิกายจะประดิษฐานศิวลึงค์(linga)ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งพระศิวะ หรือลัทธิไวษณพนิกายก็จะประดิษฐานประติมากรรมเทวรูปพระวิษณุ
เรือนยอดหรือส่วนยอด (Rooftop Prang) คือช่วงบนขององค์ปรางค์เหนือส่วนเรือนธาตุขึ้นไป เป็นหลังคาซ้อนชั้นลดหลั่นกัน มักแกะสลักลวดลายเป็นกลีบซ้อนกันเรียกว่า “กลีบขนุน” แต่ละชั้นมีนาคปัก หมายถึง หัวพญานาคประดับที่มุมประธาน แต่ละด้านประดับด้วย “บันแถลง” หมายถึง รูปจั่วหรือซุ้มหน้าต่าง เป็นรูปสัญลักษณ์ของวิมานซึ่งเป็นที่สถิตของเทวดา ส่วนยอดสุดเป็นรูปกลีบบัวรองรับส่วนยอด เรียกว่า “กลศ (Kalasa)” มีรูปร่างคล้ายหม้อน้ำเทพมนตร์ในศาสนาฮินดู
มณฑป (Mandapa or Mondop) หรืออาคารเรือนมณฑป เป็นอาคารมุขยื่นที่สร้างไว้ติดกับปรางค์ประธาน ส่วนภายในของมณฑปจะสร้างเป็นห้องโถงใหญ่ สร้างเป็นอาคารเพิ่มมุมเพื่อออกมุขรับกับซุ้มประตูทางเข้าสู่ด้านหน้าของห้องครรภคฤหะ
มุขกระสัน หรือ อันตราละ (Antarala) คือทางเดินมีหลังคาคลุม หรือฉนวนทางเดินสู่ปราสาท โดยสร้างเชื่อมระหว่างปรางค์ประธานกับมณฑป
ระเบียงคด (Gallery or Cloister) คือ เฉลียงหรือระเบียงทางเดินที่มีสร้างล้อมรอบปรางค์ประธาน มีลักษณะเป็นวิหารล้อมรอบลานด้านในของวิหารหลัก หรือกำแพงชั้นในที่ล้อมรอบปราสาทประธาน นิยมแกะสลักประติมากรรมบนผนังของระเบียงคด จึงเปรียบเสมือนดั่งศิลปกรรมบนผนังที่ล้อมรอบไว้ทั้งสี่ทิศ
ทับหลัง (Lintel) คือแผ่นหินหรือแท่งหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ใช้ทับบนกรอบประตูเพื่อรองรับเครื่องบนหรือโครงสร้างหลังคา เป็นการสร้างเพื่อรับน้ำหนักของชั้นหลังคา นิยมสลักลวดลายอันงดงามและภาพเล่าเรื่องต่างๆในศาสนาฮินดู ลักษณะแบบของทับหลังยังสามารถทำให้ทราบได้ว่าศาสนสถานนั้นสร้างขึ้นเมื่อใด เพราะทับหลังจะสร้างขึ้นพร้อมกับตัวปราสาทเสมอ
หน้าบัน (Pediment) คือพื้นที่รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วอยู่เหนือทับหลังขึ้นไป เป็นส่วนสำคัญของหลังคา ตัวหน้าบันนิยมสลักลวดลายและภาพเล่าเรื่องที่สัมพันธ์กับภาพประติมากรรมบนทับหลัง
เสาติดผนัง (Pilastre) คือ วงกบกรอบประตู เป็นเสาสี่เหลี่ยมรองรับน้ำหนักของส่วนบนของส่วนหลังคา นิยมแกะสลักลวดลายอย่างงดงามตระการตา
เสาประดับกรอบประตู(Colonnette) เป็นเสาที่สร้างอยู่ด้านหน้าวงกบกรอบประตู วางขนาบอยู่สองข้างประตู ทำจากหินทราย มีทั้งเสาทรงกลมและทรงแปดเหลี่ยม นิยมประดับด้วยลายที่เรียกกันว่าวงแหวน และลายใบไม้สามเหลี่ยม ทำขึ้นเพื่อการประดับตกแต่งมากกว่าการรับน้ำหนัก ทำให้ในส่วนนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะของลวดลายตามปราสาทขอมแต่ละสมัย
กำแพงแก้ว (Enclosure Wall) เป็นแนวกำแพงที่ล้อมรอบศาสนสถานหรือปราสาท ตรงกลางกำแพงมีซุ้มประตูทางเข้าทั้งสี่ด้านหรือสี่ทิศ เรียกว่า โคปุระ
โคปุระ(Gopura) คือ ซุ้มประตู หรือ ช่องทางสำหรับเข้าออกกำแพงที่ล้อมรอบปราสาท
บรรณาลัย (Library) หรือ ห้องสมุด หรือ หอหนังสือ ลักษณะเป็นอาคารขนาดเล็กที่มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู
ทางดำเนิน หรือ ชาลาทางเดิน (Royal walkway) ลักษณะเป็นทางเดินสำหรับกษัตริย์หรือเส้นทางของผู้มาสักการบูชา เป็นทางเชื่อมระหว่างประตูด้านนอกเข้าสู่องค์ปราสาท ตลอดเส้นทางมักประดับด้วยเสาตั้งเป็นแนวตลอดทางเดินเรียกว่า “เสานางเรียง” หรือ “เสานางจรัล”
เสานางเรียง หรือ เสานางจรัล (Stone pillars or Candle columns) เป็นเสาตั้งอยู่ลอยๆเรียงตามแนวทางเดินสู่ตัวปราสาท มียอดหัวเสาคล้ายดอกบัวตูม
บาราย (Baray) คือสระน้ำขนาดใหญ่ที่ขุดสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างปราสาท บาราย(สระน้ำ)มีการขุดสร้างไว้ทั้งส่วนที่อยู่ภายในกำแพงและนอกกำแพง
สะพานนาคราช (Naga bridge) เป็นบันไดทางขึ้นสู่ตัวปราสาท มีลักษณะเป็นลานยกพื้นรูปกากบาท ตามคติความเชื่อในการก่อสร้างปราสาทของศาสนาฮินดู
เสาลูกมะหวด หรือ ลูกมะหวด (Balustre) คือส่วนประดับตกแต่งบนผนังด้านนอกทั้งสองข้าง ลักษณะคล้ายราวลูกกรงช่องหน้าต่างหรือช่องระเบียงแกะกลึงเป็นปล้องๆ
บราลี (Barali) คือแท่งหินแกะกลึงเป็นปล้องๆ มีส่วนปลายแหลมมนเรียงกันเป็นแนวยาวประดับสันกลางของหลังคาอาคารและหลังคาระเบียงคดรอบปราสาท ทุกวันนี้ บราลีในปราสาทเขมรมีหลงเหลืออยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพแตกหักและถูกทำลายลงไปเป็นจำนวนมาก
สถาปัตยกรรมขอม มีการออกแบบก่อสร้างอย่างมีระเบียบแบบแผน ภายในอาณาบริเวณของปราสาท จึงมีการวางตำแหน่งและการสร้างทางสถาปัตยกรรม ภายใต้คติความเชื่อเรื่องศาสนสถานอันเป็นที่สถิตของเทพเจ้า และเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ในคติการสร้างปราสาท สามารถจำแนกแบ่งแผนผังโครงสร้างได้ 2 แบบใหญ่ๆ คือ
1. แบบแผนผังล้อมรอบจุดศูนย์กลาง ซึ่งมีองค์ปราสาทประธานอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยระเบียงคด อาจมีสระน้ำและกำแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง สถาปัตยกรรมขอมแบบนี้สร้างอยู่บนพื้นราบ
2. แบบแผนผังที่สร้างตรงเข้าสู่จุดศูนย์กลาง เป็นคติความเชื่อเรื่องศาสนสถานที่อยู่บนภูเขา ด้วยความรู้สึกถึงการเดินทางจากพื้นราบของโลกมนุษย์ ไปเฝ้าเทวาลัยอันเป็นที่สถิตของเทพเจ้าที่ประทับอยู่บนสวรรค์อันเป็นที่สูง ตลอดเส้นทางจะนิยมสร้างบันไดทางเดินและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เพื่อนำขึ้นไปสู่ปราสาทประธานที่อยู่บนยอดสูงสุด
ดังนั้น แบบแผนการสร้างสถาปัตยกรรมขอมจึงประกอบไปด้วยส่วนรายละเอียดต่างๆ ดังสามารถอธิบายโดยสังเขป ดังนี้
ปรางค์ประธาน (Prang) เป็นปรางค์องค์กลางที่มีขนาดสูงใหญ่และโดดเด่นมากที่สุด ส่วนใหญ่จะสร้าง ณ ตำแหน่งกึ่งกลางของปรางค์ทั้งหมดภายในปรางค์ประธานเป็นใจกลางสถานอันศักดิ์สิทธิ์(Central sanctuary) คือห้องที่เรียกว่า “ห้องครรภคฤหะ(Garbhagriha)” หรือ “เรือนธาตุ” ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานสัญลักษณ์แห่งองค์เทพหรือประติมากรรมรูปเคารพสูงสุด หากเป็นลัทธิไศวนิกายจะประดิษฐานศิวลึงค์(linga)ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งพระศิวะ หรือลัทธิไวษณพนิกายก็จะประดิษฐานประติมากรรมเทวรูปพระวิษณุ
เรือนยอดหรือส่วนยอด (Rooftop Prang) คือช่วงบนขององค์ปรางค์เหนือส่วนเรือนธาตุขึ้นไป เป็นหลังคาซ้อนชั้นลดหลั่นกัน มักแกะสลักลวดลายเป็นกลีบซ้อนกันเรียกว่า “กลีบขนุน” แต่ละชั้นมีนาคปัก หมายถึง หัวพญานาคประดับที่มุมประธาน แต่ละด้านประดับด้วย “บันแถลง” หมายถึง รูปจั่วหรือซุ้มหน้าต่าง เป็นรูปสัญลักษณ์ของวิมานซึ่งเป็นที่สถิตของเทวดา ส่วนยอดสุดเป็นรูปกลีบบัวรองรับส่วนยอด เรียกว่า “กลศ (Kalasa)” มีรูปร่างคล้ายหม้อน้ำเทพมนตร์ในศาสนาฮินดู
มณฑป (Mandapa or Mondop) หรืออาคารเรือนมณฑป เป็นอาคารมุขยื่นที่สร้างไว้ติดกับปรางค์ประธาน ส่วนภายในของมณฑปจะสร้างเป็นห้องโถงใหญ่ สร้างเป็นอาคารเพิ่มมุมเพื่อออกมุขรับกับซุ้มประตูทางเข้าสู่ด้านหน้าของห้องครรภคฤหะ
มุขกระสัน หรือ อันตราละ (Antarala) คือทางเดินมีหลังคาคลุม หรือฉนวนทางเดินสู่ปราสาท โดยสร้างเชื่อมระหว่างปรางค์ประธานกับมณฑป
ระเบียงคด (Gallery or Cloister) คือ เฉลียงหรือระเบียงทางเดินที่มีสร้างล้อมรอบปรางค์ประธาน มีลักษณะเป็นวิหารล้อมรอบลานด้านในของวิหารหลัก หรือกำแพงชั้นในที่ล้อมรอบปราสาทประธาน นิยมแกะสลักประติมากรรมบนผนังของระเบียงคด จึงเปรียบเสมือนดั่งศิลปกรรมบนผนังที่ล้อมรอบไว้ทั้งสี่ทิศ
ทับหลัง (Lintel) คือแผ่นหินหรือแท่งหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ใช้ทับบนกรอบประตูเพื่อรองรับเครื่องบนหรือโครงสร้างหลังคา เป็นการสร้างเพื่อรับน้ำหนักของชั้นหลังคา นิยมสลักลวดลายอันงดงามและภาพเล่าเรื่องต่างๆในศาสนาฮินดู ลักษณะแบบของทับหลังยังสามารถทำให้ทราบได้ว่าศาสนสถานนั้นสร้างขึ้นเมื่อใด เพราะทับหลังจะสร้างขึ้นพร้อมกับตัวปราสาทเสมอ
หน้าบัน (Pediment) คือพื้นที่รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วอยู่เหนือทับหลังขึ้นไป เป็นส่วนสำคัญของหลังคา ตัวหน้าบันนิยมสลักลวดลายและภาพเล่าเรื่องที่สัมพันธ์กับภาพประติมากรรมบนทับหลัง
เสาติดผนัง (Pilastre) คือ วงกบกรอบประตู เป็นเสาสี่เหลี่ยมรองรับน้ำหนักของส่วนบนของส่วนหลังคา นิยมแกะสลักลวดลายอย่างงดงามตระการตา
เสาประดับกรอบประตู(Colonnette) เป็นเสาที่สร้างอยู่ด้านหน้าวงกบกรอบประตู วางขนาบอยู่สองข้างประตู ทำจากหินทราย มีทั้งเสาทรงกลมและทรงแปดเหลี่ยม นิยมประดับด้วยลายที่เรียกกันว่าวงแหวน และลายใบไม้สามเหลี่ยม ทำขึ้นเพื่อการประดับตกแต่งมากกว่าการรับน้ำหนัก ทำให้ในส่วนนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะของลวดลายตามปราสาทขอมแต่ละสมัย
กำแพงแก้ว (Enclosure Wall) เป็นแนวกำแพงที่ล้อมรอบศาสนสถานหรือปราสาท ตรงกลางกำแพงมีซุ้มประตูทางเข้าทั้งสี่ด้านหรือสี่ทิศ เรียกว่า โคปุระ
โคปุระ(Gopura) คือ ซุ้มประตู หรือ ช่องทางสำหรับเข้าออกกำแพงที่ล้อมรอบปราสาท
บรรณาลัย (Library) หรือ ห้องสมุด หรือ หอหนังสือ ลักษณะเป็นอาคารขนาดเล็กที่มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู
ทางดำเนิน หรือ ชาลาทางเดิน (Royal walkway) ลักษณะเป็นทางเดินสำหรับกษัตริย์หรือเส้นทางของผู้มาสักการบูชา เป็นทางเชื่อมระหว่างประตูด้านนอกเข้าสู่องค์ปราสาท ตลอดเส้นทางมักประดับด้วยเสาตั้งเป็นแนวตลอดทางเดินเรียกว่า “เสานางเรียง” หรือ “เสานางจรัล”
เสานางเรียง หรือ เสานางจรัล (Stone pillars or Candle columns) เป็นเสาตั้งอยู่ลอยๆเรียงตามแนวทางเดินสู่ตัวปราสาท มียอดหัวเสาคล้ายดอกบัวตูม
บาราย (Baray) คือสระน้ำขนาดใหญ่ที่ขุดสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างปราสาท บาราย(สระน้ำ)มีการขุดสร้างไว้ทั้งส่วนที่อยู่ภายในกำแพงและนอกกำแพง
สะพานนาคราช (Naga bridge) เป็นบันไดทางขึ้นสู่ตัวปราสาท มีลักษณะเป็นลานยกพื้นรูปกากบาท ตามคติความเชื่อในการก่อสร้างปราสาทของศาสนาฮินดู
เสาลูกมะหวด หรือ ลูกมะหวด (Balustre) คือส่วนประดับตกแต่งบนผนังด้านนอกทั้งสองข้าง ลักษณะคล้ายราวลูกกรงช่องหน้าต่างหรือช่องระเบียงแกะกลึงเป็นปล้องๆ
บราลี (Barali) คือแท่งหินแกะกลึงเป็นปล้องๆ มีส่วนปลายแหลมมนเรียงกันเป็นแนวยาวประดับสันกลางของหลังคาอาคารและหลังคาระเบียงคดรอบปราสาท ทุกวันนี้ บราลีในปราสาทเขมรมีหลงเหลืออยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพแตกหักและถูกทำลายลงไปเป็นจำนวนมาก
ปราสาทนางอัปสรา หรือ วิหารร่ายรำ (Hall of Dancers) เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตามแนวยาวในทิศตะวันออก และแบ่งพื้นที่ส่วนลานกว้างทั้งสี่ด้วยระเบียงคด ภายในล้วนแกะสลักไว้ด้วยภาพจำหลักรูปนางอัปสราในท่วงท่าร่ายรำเป็นจำนวนมาก
ธรรมศาลา หรือ วหนิคฤหะ (Dharmasala or House of Fire) หรือ “บ้านมีไฟ” หรือ “ที่พักคนเดินทาง” ซึ่งก่อด้วยศิลาและจุดไฟไว้ตลอด มีลักษณะเป็นอาคารในแนวยาว สร้างขึ้นในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ปราสาทนางอัปสรา หรือ วิหารร่ายรำ (Hall of Dancers) เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตามแนวยาวในทิศตะวันออก และแบ่งพื้นที่ส่วนลานกว้างทั้งสี่ด้วยระเบียงคด ภายในล้วนแกะสลักไว้ด้วยภาพจำหลักรูปนางอัปสราในท่วงท่าร่ายรำเป็นจำนวนมาก
ธรรมศาลา หรือ วหนิคฤหะ (Dharmasala or House of Fire) หรือ “บ้านมีไฟ” หรือ “ที่พักคนเดินทาง” ซึ่งก่อด้วยศิลาและจุดไฟไว้ตลอด มีลักษณะเป็นอาคารในแนวยาว สร้างขึ้นในช่วงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7