โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยศ อิษฏ์วรพันธุ์
"หนังสือ DECHAWARASHOON" โดย เดชา วราชุน ตัวอักษรภาษาอังกฤษขนาดอ่านได้โดยง่าย วางบนพื้นผิว ที่เป็นภาพวาดสีนามธรรมรูปแบบต่าง ๆ ชวนให้ค่อย ๆ เปิดเข้าไปดูทีละน้อย พื้นที่ที่ต้องอาศัยความทรงจำจากหน้า แรกสู่หน้าสุดท้าย ตัวอักษรแรกที่ให้คำถามไปสู่ตัวอักษรสุดท้ายที่ให้คำตอบ ความแตกต่างของกระบวนการ "อ่าน" ตัวอักษร กับการ "ดู" ภาพ ดูจะหมดสิ้นไปเมื่อนำมาผ่านกาลเวลาของกระบวนการเปิดหน้าหนังสือไปทีละหน้า พื้น ผิวและร่องรอยขององค์ประกอบศิลปะที่ทำให้เราสัมผัสตัวตนของศิลปินผ่านทางการสร้างสรรค์ศิลปะ
"ทัศนบันทึกของการรักษาโรคพาร์กินสัน" โดย อิทธิพล ตั้งโฉลก เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาตัว ของศิลปินถูกนำมามาเผย แสดงผนวกกับองค์ประกอบทางศิลปะที่เรียบง่าย ความงามถูกสร้างสรรค์ขึ้นบนวัสดุที่คาดคิด ไม่ถึงคือ ฟิล์มเอ็กซ์เรย์, เข็มสำหรับฝังเข็มแบบจีน, เข็มสำหรับฉีดยาที่หน้าท้อง ผสมผสานกับงานวาดเส้นที่มีลักษณะ ฉับพลัน แม้จะเจ็บปวดด้วยอาการเจ็บป่วย แต่ศิลปินอาศัยพลังในการสร้างสรรค์นำเราเข้าสู่สภาวะความงามและความ สุข เปิดเผยให้เห็นเส้นทางที่ยากลำบากแต่มีผลสุดท้ายที่งดงาม ทั้งทางรักษาสภาวะร่างกายและการยกระดับจิตใจให้ สูง สงบและดื่มด่ำ
"เก็บไว้ในดวงใจนิรันดร์" โดย พิษณุ ศุภนิมิตร ความรู้สึกที่สื่อออกมาอย่างหนักแน่นผ่านรูปทรงหนังสือไม้ที่ทั้ง แกะลายที่ด้านหน้าและสัญลักษณ์ ภปร. ปิดทองบนพื้นแดงเข้มเลือดนก ให้ความรู้สึกศักดิ์สิทธิ์ เมื่อเปิดออกปลายนิ้ว ได้สัมผัสความนุ่มนวลของกำมะหยี่ที่ปกใน ในขณะเดียวกันกับที่สายตาเห็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้ากับพระบรมราชินีนาถในพระราชอิริยาบถและบรรยากาศที่นุ่มนวล ภาพที่ถูกบันทึก ไว้ในหนังสือแก้วที่ให้ความโปร่งใสอ่อนโยนแก่จักษุประสาท แต่กลับห้อมล้อมความทรงจำเอาไว้อย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง ยาวนาน พาไปสู่นิรันดร์กาลของความรักและเพลงรักที่เราได้ยินแผ่ว ๆ แว่วมาในใจ เช่นเดียวกับตัวโน๊ตรองพื้นภาพที่ ส่งเสียงแผ่วเบาคลอตามไปในกาลเวลา
"ศาสนสถานลพบุรีศรีสุวรรณภูมิ" โดย ปรีชา เถาทอง ดินแดนแห่งความสงบสุขภายใต้คติธรรมแห่ง พุทธศาสนา ย่อมเป็นที่แสวงหาแด่ชนทุกหมู่เหล่า พระเจดีย์เป็นสัญลักษณ์ให้เราถือมั่นในการสร้างคุณความดี ในขณะที่ก็เตือน สติให้เราไม่ยึดมั่นถือมั่น ลายเส้นรูปทรงต่าง ๆ ที่ชัดเจนและเลอะเลือนที่สดใสสวยงามและที่ดูเป็นอารมณ์รวดเร็ว น้อมเตือนให้เราไม่อยู่ในความประมาท ปลายยอดสีทองเปล่งปลั่งรูปกลีบดอกบัวเชื่อมโยงเข้ากับประวัติศาสตร์แห่ง สุวรรณภูมิ แง่คิดทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ของชาติที่เชื่อมโยงกับปรัชญาพุทธศาสนาเผยแสดงออกมา ตัวอักษรแสดง ความปรารถนาถึงสภาวะอุดมคติตอกย้ำทำให้เราเห็นสัจจธรรมของชีวิตมนุษย์
"หนังสือคน" โดย กัญญา เจริญศุภกุล รูปเล่มของหนังสือสีดำปกขนาดต่าง ๆ กันซ้อนตัวอยู่ภายใต้กองไม้ถ่านที่ เผาไหม้อย่างสมบูรณ์ สีดำสนิทของทั้งถ่านไม้และหนังสือให้ความรู้สึกทางสายตลึกล้ำ ในขณะที่พื้นผิวของถ่านที่มี ทั้งรอยแตกแยกรูปแบบต่าง ๆ ไปจนกระทั่งความเรียบนวลสวยงาม สร้างความต่อเนื่องกับเล่มหนังสือที่เป็นสีดำเนียน เข้ม ถ้าได้จับต้องจะเห็นว่าตัวหนังสือบางเล่มเหมือนจะเปิดเผยให้เห็นเนื้อหาภายในได้ เช่นเดียวกับตัวหนังสือขนาด เล็กบนแผ่นใสที่มีทั้งคำที่อ่านครบได้ความหมายและคำที่ชวนให้ขบคิดต่อเอาเอง ตัวปักแวววาวสร้างความขัดแย้งทั้ง ขนาดพื้นผิวและความหมายทางสายตาให้แก่ชิ้นงาน กลุ่มด้ายสีน้ำเงินเข้มมัดหลวม ๆ เห็นปมอยู่ที่กึ่งกลางเล่มดูราวกับ การให้ความหมายศักดิ์สิทธิ์แก่หนังสือ แก่กระบวนการความรู้ที่ไม่สิ้นสุด เปลี่ยนผ่านสถานะจากไม้ สู่ถ่าน และสู่เปลว ไฟกับความร้อนในจินตนาการ
"หนังสือกับลายนิ้วมือ" โดย วิชัย สิทธิรัตน์ กล่องพลาสติกใสภายในเป็นลายนิ้วมือที่ผสมผสานหรือคลี่คลาย กลาย เป็นร่องรอยขององค์ประกอบทางไฟฟ้า การเรืองแสงชวนให้นึกถึงความหมายของความรู้และแสงสว่างของปัญญา ที่หาเสมอเหมือนมิได้ ลายนิ้วมือก็ยิ่งชวนให้คิดว่าเป็นประวัติส่วนตัวของศิลปินและฉงนสงสัยว่ามีมุมมองอย่างไรต่อ เรื่องดังกล่าว
"หนังสือของพ่อ" โดย วิโชค มุกดามณี องค์ความรู้ที่อัดแน่นอยู่ในพระราชประวัติที่เราเจนใจปรารถนาจะก้าวเดิน ตามรอยพระบาท ถูกสื่ออย่างเรียบง่ายและทรงพลังด้วยรูปทรงหนังสือปกแข็งสีเหลืองและพระบรมรูปนูนต่ำสีเงิน แม้ จะไม่ต้องเปิดหนังสือแต่เราก็ทราบความหมายเหล่านี้ชัดเจน ตัวเลขเก้าที่สวยงามตามแบบตัวอักษรไทยวางบนแผ่น ดิสก์ ชวนให้คิดถึงการเดินทางไปไม่รู้จบในเทคโนโลยีใหม่ ๆ บนฉากหลังที่ว่างเวิ้งว้างไร้ขอบเขต
"ครรภ์มารดา" โดย ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ รูปเล่มของหนังสือกับเค้าโครงกระดูกเชิงกรานของผู้หญิงให้ความ หมายของบ่อกำเนิดตัวตนของคน อาจเป็นไปไม่ได้ถ้าไม่ประกอบขึ้นจากองค์ความรู้ เช่นเดียวกันกับองค์ความรู้ที่ไม่ อาจก่อกำเนิดจากตัวตนของคน ภายใต้ความหนักแน่นของความหมายผ่านประติมากรรมไม้ที่จริงจัง ให้สัมผัสที่มั่นคง และอ่อนโยนไปในตัว
"บินไปหุบเขาตำนาน" และ "บ้านในหุบเขาตำนาน" โดย ปริญญา ตันติสุข หนังสือสองเล่มสองขนาดประกอบ ขึ้นไปด้วยแผ่นไม้เผาไฟด้านเดียวใช้เป็นปกหน้าและปกหลังของหนังสือ แผ่นไม้ด้านนอกที่เผาไฟหรือจะสื่อถึงกาล เวลาและความไม่เที่ยงกันแน่ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ผิวสัมผัสและรอยแตกของถ่านไม้นั้นก่อให้เกิดความรู้สึกเก่า ก่อน แผ่นไม้ด้านในเว้นที่พื้นที่ที่ทั้งเรียบและมีร่องรอยตามกาลเวลาเอาไว้ พื้นที่ว่างถูกวาดรูป แปะติดวัสดุ ปิดแผ่น ทองคำเปลว ดอกไม้แห้งที่มีรายละเอียดบางตา ใสแนบเนียนจนอยากจะลูบไล้ด้วยสัมผัสอื่นที่มากกว่าสายตา พื้นผิว สัมผัสที่ผ่านกาลเวลาและกระบวนการสร้างสรรค์ เปิดมิติของความเป็นมนุษย์ที่มีทั้งประเพณีวัฒนธรรม ความทรงจำ และความรู้สึกของปัจเจกบุคคลในคราวเดียว
"ความศรัทธาและความเสื่อม" โดย ปัญญา วิจินธนสาร การตั้งคำถามเกี่ยวกับอารยธรรมด้วยกระบวนการ สร้างสรรค์และสุนทรียภาพเป็นไปได้หรือไม่ แผ่นผนังผืนยาวที่มีภาพกับร่องรอยของการวาดภาพเป็นตัวดึงดูดสายตา ให้ค่อย ๆ ลัดเลาะไปตามรายละเอียดบนหน้ากระดาษทั้งหมด การฉีกขาดไม่สมบูรณ์ของภาพ เส้นสายที่ทั้งสวยงาม และที่ไม่สมบูรณ์ย่อมแสดงภาวะไม่แน่นอน อันเป็นสัจจธรรมของมนุษย์ แผ่นหนังให้สัมผัสของการปกปักรักษาที่หนัก แน่นจริงจัง
"We Are Live in a Nationwhere" โดย พงศ์เดช ไชยคุตร ผลงานภาพพิมพ์และวาดเส้นบนแผ่นกระดาษสา เย็บเล่มคล้ายสมุดสเก็ตช์ หน้าปกที่เรียบง่ายแต่เนื้อหาและภาพภายในที่เข้มข้น ตัวอักษรที่มีข้อความซ้ำไปมาถึงคนใน อาชีพที่ทำร้ายและทำลายเนื้อหาของคนเองนั้น มีความรุนแรงและชัดเจน ภาพที่เราไม่สามารถเพ่งจนเข้าใจได้ว่าเป็น ภาพเหมือนของใครหรือไม่นั้น กลับให้ความรู้สึกที่รุนแรงจากการใช้ภาพที่ทรงพลัง เทคนิคของการวาดเส้นที่ซ้ำไปมา จนกระดาษซ้ำกับเทคนิคการกัดกรดที่ปรากฏบนใบหน้าบางใบหน้าที่ถูกทำลาย ช่วยทำให้การสื่อความหมดจด
"สุนทรียะแห่งโยคะสรีระ" โดย รสลิน กาสต์ ปกหน้าและหลังสีขาว กระดาษทำมือเป็นรูปนูนดอกและใบลีลาวดี เมื่อเปิดเข้าไปเป็นรูปบุคคลในท่าโยคะตัดด้วยผ้าเงาเบาบางเกือบจะโปร่งแสง ตัวหน้ากระดาษเจาะเป็นช่องเผยให้เห็น หน้าถัดไปที่เป็นโครงกระดูกในท่วงท่าเดียวกัน ภาพทั้งหมด 7 ภาพที่ค่อย ๆ เผยให้เห็นครั้งละหน้ากระดาษ ราวกับ เป็นประวัติส่วนตัวของศิลปินที่ค่อย ๆ เผยด้านหนึ่งหรือส่วนเสี้ยวของชีวิตออกมาให้เห็น เทคนิคของการเจาะช่องบวก กับการใช้ผ้าที่เกือบโปร่งใส ทำให้เห็นอีกด้านหนึ่งของกระบวนการสร้างสรรค์ การนำออกและการเห็นแบบคลุมเครือ กลับทำให้ความหมายที่อ่านได้น่าสนใจมากกว่า ผู้ชมสามารถร่วมมีส่วนในการตีความอ่านความหมายจากหนังสือเล่ม นี้และนำพากระบวนการสร้างสรรค์ไปสู่ทิศทางที่ไม่จำกัด
"ออกแบบโดยธรรมชาติ" โดย อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ พื้นที่ของห้องจัดแสดงถูกชักชวนมาเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของงานสร้างสรรค์ รูปแบบการจัดหน้าของแผ่นพลาสติกใสสองแผ่นประกบกัน สอดใส้ไว้ด้วยเศษกระดาษและวัสดุอื่นๆ ที่เราไม่แน่ใจว่า ถูกฉีกด้วยมือศิลปินหรือด้วยกาลเวลาและความบังเอิญของโลก ร่องรอยของความทรงจำที่จะค่อยเปิดเผยถ้าเราจะค่อย ๆ ไล่สายตาชมไปทีละแผ่น ชุดของความทรงจำของผู้สร้างสรรค์ที่ปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมในฐานะผู้ที่จะเลือกชมแผ่นที่ตัวเองต้องการ ก้าวกระโดดไปแผ่นโน้น มองข้ามกลับมาแผ่นนี้ ให้อิสระแก่การชมราวกับอ่านหนังสือไร้หน้าที่กระตุ้นให้ผู้อ่านสร้างตัวเล่มในความทรงจำของตนเอง
"หนังสือเล่มสุดท้าย" โดย ถาวร โกอุดมวิทย์ หนังสือหน้าปกสีทองเล่มหนา 124 หน้าที่ชวนให้ฉงนตั้งแต่หน้าปก หนังสือเล่มสุดท้ายจะมีจริงหรือไม่ เมื่อใดหนังสือจะหมดไปจากโลกและอารยธรรม แม้เมื่อต้องต่อสู้กับวิทยุโทรทัศน์มา จนกระทั่งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หนังสือไม่เคยเผชิญกับการคุกคามที่จริงจังไปกว่านี้อีกแล้วในประวัติศาสตร์อารยธรรม มนุษย์ สมาร์ทโฟนที่ทำได้ทุกสิ่งเผยตัวออกมาเมื่อเราเปิดหน้าหนังสือไป หนังสือถูกเจาะเป็นช่องจากหน้าแรกไปจน หน้าที่ 36 แล้วจัดวางสมาร์ทโฟนอย่างตั้งใจที่กึ่งกลาง แต่เมื่อเปิดหน้าหนังสือที่ยังไม่ถูกตัดหลังจากหน้า 36 เป็นต้น ไปโดยคาดหวังว่าจะพบตัวหนังสือหรือภาพที่จะอธิบาย กลับไม่พบสิ่งใด ความว่างเปล่ายิ่งก่อให้เกิดคำถามมากกว่า จะให้คำตอบ
"ทดลองสำหรับผลงานพายุลูกเห็บ 2560" โดย ญาณวิทย์ กุญแจทอง กระบวนการตามธรรมชาติของวัสดุที่ ผ่านมือของศิลปิน ร่องรอยของการทดลองผ่านกาลเวลา ผลงานที่สร้างสรรค์ที่อาศัยทั้งการควบคุมและความบังเอิญ วิทยาศาสตร์และศิลปะมาบรรจบกันที่สภาวะภายในจิตของศิลปินก่อให้เกิดร่องรอยที่เป็นไป ทั้งผ่านกระบวนการของ พู่กันขนาดต่าง ๆ และระดับของความเข้มบางของหยดสี กับวัสดุผสมบนพื้นผิวหนักแน่นเบาบางแตกต่างกัน เห็นจุด เล็ก ๆ ของประกายดวงดาวส่องสว่างบ้าง สลัวบ้าง จักรวาลในจินตนาการเผยตัวออกมาผ่านทางสื่อภาพพิมพ์ขนาด เล็กที่รวบรวมเป็นเล่มหนังสือ
"หน้าที่มีนัยสำคัญในความทรงจำของข้าพเจ้า" โดย วราวุธ ชูแสงทอง พื้นที่จำลองของแคนวาสบนขาหยั่งกับ ภาพในกรอบด้านหน้าที่เนื้อหาสัมพันธ์กัน ใบหน้าสำคัญที่เราไม่เคยลืมเลือนประกอบกันเป็นพื้นที่ในห้วงความคิด ของศิลปิน ภาพวาดที่เสร็จสิ้นแล้วจากหลักฐานลายเซนต์ศิลปินชวนให้เราเข้าไปนั่งในห้วงความคิด ละเลียดไปความ ทรงจำที่มีสีสันโปร่งเบา พื้นที่ที่สบายตา สวยงาม เมื่อพยายามเพ่งรายละเอียด ยังพบท่อนไม้ที่มีดอกไม้บานเป็นช่วง จังหวะ กระดาษสาและร่องรอยของสีทองในบางจุด บางแห่งพาเราเข้าสู่พื้นที่แห่งความทรงจำร่วมกันในฐานะคนไทย
"ในภายใน" โดย ไชยยศ จันทราทิตย์ หนังสือเล่มที่ต้องการเวลาในการ "อ่าน" อย่างจริงจัง แม้จะมีหลายหน้า กระดาษที่ว่างเปล่าและในหลายหน้ากระดาษเหมือนเป็นรอยเปรอะเปื้อนที่น่าฉงน แต่เมื่อปรากฏการวาดเส้นที่หนัก แน่น เปี่ยมพลัง เจนจัด ควบคุมทำให้รอยคราบและความว่างเปล่าทรงความหมายขึ้นมาและทำหน้าที่ในฐานะคู่สนทนา ที่เสมอกัน ข้อความสื่อความคิดที่ต้องการการอ่านที่จริงจังนั้นเข้มขึ้น ไม่แพ้เจตนาและความสำเร็จของงานศิลปะ ภาพ พิมพ์รูปที่เราเจนตาให้ความหมายใหม่เมื่อถูกจัดวางในรูปแบบของการล้อเล่นกับวิธีเปิดหน้าหนังสือ พื้นที่ว่างที่เข้าไป เปิดใจผู้ชม รูปทรงที่ทำหน้าที่ให้คำนึงถึงพื้นที่ว่าง หนัทำงสือที่ทำให้คำนึงถึงการไม่มีหนังสือ
"กษัตริย์ / ตลอดกาล" โดย จิตต์สิงห์ สมบุญ แผ่นแคนวาสหนาหนักเมื่อนำมาวางแบบสมุดทำให้การเปิดดูต้องใช้ ความพยายามไม่น้อย หน้าแรกเป็นภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบนฉากหลังสีทอง ช่วยย้ำแก่เราว่าเนื้อหา หนังสือเล่มนี้คืออะไร เหมือนเราจะไม่ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมว่า แต่ละสีที่ว่างเปล่าแทบจะไร้รูปทรงของแต่ละ หน้าหนังสือเล่มนี้ที่เราเปิดดูนั้นมีเนื้อหาว่าอะไร เนื้อหาเหล่านี้อยู่ในใจของเราอยู่แล้ว สีแต่ละสีช่วยกระตุ้นให้เราใช้ จินตนาการต่อเอาเอง เป็นความงามที่ไม่ต้องการรูปภาพใด ๆ มาอธิบาย
"ฝัน" โดย นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ รูปเล่มหนังสือที่ค่อนข้างใหญ่และจริงจังทำให้เราคาดหมายกับเนื้อหาที่มาในระดับ เดียวกัน เมื่อเปิดเจอบทเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา จึงไม่ทำให้เราประหลาดใจเท่าใดนัก แม้จะดูเป็นบทกวีที่ไม่ น่าจะอยู่ในบริบทของงานแสดงนี้เป็นอย่างมาก ตัวอักษรที่เป็นรอยปรุย้อนหน้ากระดาษขึ้นมาชวนให้สัมผัสลูบไล้และ เมื่อได้ทำเช่นนั้นก็ราวกับว่าประสาทส่วนอื่น ๆ ของเราในการรับรู้งานชิ้นนี้จะถูกลดความสำคัญลง เมื่อบทพยากรณ์ จบลงรอบแรกก็ขึ้นต้นบทพยากรณ์ใหม่อีกครั้งทันที แต่คราวนี้รอยปรุค่อย ๆ ลดน้อยลงไปตามลำดับราวกับความฝัน นั้นจะจับต้องได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ ความจริงในยามดึกสงัดเลือนราง ไม่ต่างจากความฝันที่ชัดเจน กวีญี่ปุ่นท่านหนึ่งได้ กล่าวไว้กว่าพันปีมาแล้ว
"ติดปะความคิด" โดย สุธี คุณาวิชยานนท์ หนังสือที่นอกจากจะทำมือแล้วยังเขียนด้วยมือ แปะติดกาวด้วยมือและ ดูเหมือนจะมีรอยถลอกปอกเปิกด้วยมือเช่นกัน ตัวอักษรที่มาจากตัวพิมพ์อันหลากหลาย รวมไปถึงลายมือจากปากกา ปลายใหญ่เล็กไม่สม่ำเสมอ ชวนให้ตั้งข้อสงสัยถึง "ความเป็นทางการ" หรืองานชิ้นนี้อยากจะชวนเราขบคิดเกี่ยวกับ เนื้อหาที่ผ่านสื่อประเภทนี้ว่าเป็นทางการขนาดไหน ไม่ต้องนับว่าตัวอักษรบางตัวถูกบดบังไปบ้างเหมือนจะอ่านออก หรืออ่านไม่ออก หรือเราควรจะแง้มดูกันให้เห็นไปเลยว่าข้างใต้กระดาษที่ปิดไว้หมิ่นเหม่นั้นมีความหมายอะไรซ่อน อยู่ หรือถ้าไม่มีก็จะได้รู้กันไป !
"Is Everything" โดย ธีรวัฒน์ งามเชื้อชิต กล่องไม้ที่เรียบง่ายเปิดพื้นที่ว่างให้กับแหวนแต่งงานที่มีปลายยอดเป็น หนังสือแทนที่เพชรในความหมายทั่วไป ที่ด้านซ้ายและตัวอักษร is everything ที่ด้านขวา การแต่งงานกับความรู้เปรียบ เปรยกับการแสวงหาความเข้าใจซึ่งกันและกัน ผู้อ่านหนังสือย่อมมีส่วนเลือกความรู้ในหนังสือที่ตัวเองอยากอ่าน เช่น เดียวกันกับความรู้ในหนังสือย่อมมีส่วนเลือกผู้อ่านเช่นกัน การเรียนรู้สองด้านนี้เป็นไปตลอดชีวิต
"ศรัทธาภาวนา" โดย พัดยศ พุทธเจริญ โครงสร้างหนังสือที่คล้ายสมุดไทยหน้าปกสีทองอร่ามกับพระบาทสองรอยที่ เห็นเป็นก้าวย่างเสด็จดำเนินไปบนร่องรอยของมงคล 108 เปิดเข้าไปภายในเป็นหน้าหนังสือสีดำแบบสมุดไทยดำ พิมพ์ ตัวอักษรว่าด้วยความหมายของชีวิต เส้นชีพจรสีแดงที่ลากผ่านแต่ละหน้ากระดาษ ร่องรอยตัวอักษรที่ชัดบ้างจางบ้าง ให้ความรู้สึกถึงกาลเวลาที่ค่อย ๆ ผ่านไปประวัติศาสตร์ส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับธรรมะ กายกับจิตที่ท่องผ่านกาลเวลา ความยาวสั้นของช่วงเวลาที่สัมพัทธ์กับประสบการณ์ส่วนบุคคล จักรวาลที่แท้จริงนั้นอยู่ในใจมากกว่าภายนอก อาจจะ เป็นคำถามที่เราพอจะเห็นเค้าผ่านผลงานชิ้นนี้
"สมุดไทย" โดย อภิชัย ภิรมย์รักษ์ รูปเล่มของสมุดไทยประกอบขึ้นด้วยมือจากกระดาษสาให้ความรู้สึกย้อนอดีตอยู่ แล้ว ภาพงานศิลปะของศิลปินบนกระดาษขาวที่วางอยู่บนกระดาษสาอีกทีหนึ่ง ชวนให้เพ่งดูในรายละเอียดในขณะที่ ตัวอักษร ก.ไก่ ถึง ฮ.นกฮูก กับตัวเลขทุกตัวพิมพ์นูนด้วยวัสดุสีขาว หน้าต่อหน้า ภาพต่อภาพ ตัวอักษรต่อตัวอักษร ประวัติศาสตร์ของตัวตนศิลปินกับประวัติศาสตร์ขององค์ความรู้แบบไทยเชื่อมต่อเข้าด้วยกันในโลกปัจจุบันเพื่อส่งต่อ ไปยังอนาคตภายใต้รูปแบบของหนังสือหรือสื่ออื่นก็ตาม
"หน้าหนังสือ" โดย ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ หนังสือเล่มบางที่ถูกประกับไว้ด้วยศีรษะมนุษย์สองด้าน ตัวอักษรที่เจาะ ลึกลงไปบนผิวหนังบนศีรษะชวนให้รู้สึกเจ็บปวดตาม แม้จะไม่ใช่ทางกายแต่ก็เป็นทางจิตใจ คติเตือนใจต่าง ๆ ที่สื่อ ออกมาจากตัวอักษรบนหัวยิ่งตอกย้ำว่า มนุษย์นั้นประกอบด้วยด้านดีและด้านร้าย การควบคุมได้และการปลดปล่อย แบบไร้ขอบเขต กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะมีแนวโน้มจะน้อมนำมนุษย์เข้าสู่ความดีงามและนั่นเป็นเหตุผล ที่ศิลปะอยู่กับมนุษย์มาทุกยุคสมัย
"หากมิแตกต่างกัน" โดย สาครินทร์ เครืออ่อน รูปเล่มหนังสือที่ดูขึงขังราวกับตำราคลาสสิค เมื่อผ่านหน้าแรกที่ มีชื่อหนังสือและชื่อผู้เขียนเข้าไปแล้ว ภายในเป็นข้อความเดียวกับชื่อหนังสือ พิมพ์ตัวอักษรขนาดเล็กเปิดพื้นที่หน้า หนังสือโล่งว่าง แต่ละหน้าซ้ำกันไปจนจบ จะเปลี่ยนก็เพียงเลขหน้าเท่านั้น ถ้าหนังสือเล่มนี้จะท้าทายการดูว่า เนื้อหา ที่ซ้ำกันจนราวกับจะเป็นชั่วนิรันดร์นี้ ความหมายของมันก็คงจะสื่อถึงประเด็นบางอย่างที่เหมือนจะวนเวียนไม่รู้จบสิ้น ยิ่งตัวอักษรไม่มากพอที่จะเฉพาะเจาะจงบ่งชี้ถึงปัญหาใดปัญหาหนึ่ง สื่อนี้ยิ่งเปิดกว้างกับการตีความย้อนแย้งกับความ พยายามแสวงหาความไม่แตกต่าง
"หมอนปักเข็มหมุดเจ็ดใบ" และ "หมอนปักเข็มหมุดเจ็ดใบบนมือ" โดย วิมลมาลย์ ขันธะชวนะ หน้าหนังสือ ขนาดปกติที่พบเห็นได้ทั่วไปสร้างความประหลาดใจด้วยเข็มหมุด จำนวนเล่มปักอยู่บนภาพพิมพ์รูปหมอนปัก เมื่อ เปิดเข้าไปพบกับภาพพิมพ์รูปหมอนปักลักษณะแตกต่างกันทั้งเจ็ดใบ เข็มหมุด กรรไกร ไม่ทำให้นึกถึงสิ่งอื่นใดมาก ไปกว่าอุปกรณ์การตัดเย็บของผู้หญิงคนหนึ่งหรือหลายคน ความรู้ของคนรุ่นหนึ่งหรือหลายรุ่นที่ตกทอดต่อกัน สีสันที่ เบาแต่เข้มหนัก สะท้อนความรู้สึกเกินกว่าสื่อความด้วยภาษาของผู้หญิงและความเป็นเพศหญิง บางภาพให้ช่วงเวลาที่ ยาวนาน จนเหมือนกับว่าหมอนปักเองก็ไม่สามารถรักษาสภาวะของตัวเองเอาไว้ได้ ต้องปล่อยให้ความรู้สึกเศร้าเสียใจ เข้ามาครอบงำเปลี่ยนแปลงรูปทรงไปตามช่วงเวลา เช่นเดียวกับภาพมือในผลงานชิ้นที่สองที่ผ่านกาลเวลาและความ รู้สึกมากมาย เป็นร่องรอยของความทรงจำที่แยกสลายอย่างไม่สามารถหวนคืน
"White Book" โดย กันจณา ดำโสภี เส้นไหมสีชมพูเข้มที่ถูกใช้ในรูปแบบต่าง ๆ กัน กระดาษที่ถูกตัดเป็นรูปทรง หลากหลาย แต่ทั้งหมดละเอียดถี่ถ้วนสวยงาม การซ้อนทับของวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่บอบบางเบา ชวนให้กลั้นหายใจ ยามสัมผัส การต่อเชื่อมของหน้ากระดาษบางหน้าที่สัมผัสแรงแม้เพียงนิดก็อาจจะฉีกขาด การพลิกหนังสือเล่มนี้ทีละหน้า อ่านไปทีละคู่ ผ่านความหมายที่สื่อสารประวัติศาสตร์ส่วนบุคคลของศิลปิน ประวัติศาสตร์ของความรู้สึกที่ถ่ายทอด ผ่านหนังสือศิลปกรรม มิใช่หนังสือ "หนังสือ" อีกต่อไป
"แผ่นดินของเรา" โดย ธีระวัฒน์ คะนะมะ ความงามที่ซ้อนชั้นเห็นลึกเข้าไปข้างในราวกับจะไม่มีที่สิ้นสุด รูปทรง แบบประเพณีให้ความสงบสบาย ลายเส้นและสีสันที่โปร่งเบา สวยงาม ประกอบกันเป็นพื้นที่ทางใจที่ให้สัมผัสสงบ ลึกล้ำ กิจกรรมการสร้างสรรค์ศิลปะกับการสร้างความสงบในใจนั้น ขัดแย้งหรือสอดคล้องกันแน่ ผลงานชิ้นนี้ดูจะให้ คำตอบมาทางสอดคล้องหรือไม่?
"จินดามณี ๒๕๖๐" โดย ณัฎฐพล สุวรรณกุศลส่ง แม้จะไม่คาดหมายว่าจะเบาบางราวขนนก แต่เราก็ไม่เคยคาด หมายว่าหนังสือจะหนักราวกับยกไม่ขึ้น แม้จะไม่คาดหมายว่าหนังสือจะเปิดไม่ออก แต่เราก็ไม่เคยคาดหมายว่าหนังสือ จะเป็นก้อนทึบตัน ความขัดแย้งระหว่างความรู้กับความไม่อยากให้รู้ การเข้าถึงกับการปิดกั้นดูจะเป็นส่วนหนึ่งของ อารยธรรมมนุษย์ ก็เพราะมนุษย์เองนั้นมีความขัดแย้งในใจเช่นนี้มาตลอดประวัติศาสตร์ปัจจุบันและต่อไปยังอนาคต
"หนังสือคือชีวิต" โดย ทินกร กาษรสุวรรณ หนังสือมีความสำคัญและมีประโยชน์กับชีวิตมนุษย์ เพราะมนุษย์ต้องการ แสวงหาความรู้หรือคำตอบที่ตนอยากรู้ อยากเห็นด้วยวิธีการต่าง ๆ มากมายหลากวิธี แต่วิธีที่มนุษย์สามารถแสวง หาคำตอบได้ดีและสะดวกที่สุดคือ การแสวงหาคำตอบจากหนังสือ การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านแต่วัยเยาว์จึงเป็นการ เปิดบานประตูสู่โลกกว้าง โลกของนักอ่านจึงเป็นโลกแห่งการเรียนรู้ โลกแห่งการแสวงหา ดังนั้น หนังสือจึงเป็นแหล่ง เรียนรู้ที่ดีที่สุดของมนุษย์เป็นที่พึ่งพาของมนุษย์เมื่อต้องการแสวงหาความรู้ เปรียบได้กับแมลงที่ต้องพึ่งพาอาศัยพืชผล ทางการเกษตรในการดำรงชีวิต
"Collage" โดย วุฒิกร คงคา ความทรงจำของคนต่อศิลปะอันเลอเลิศที่ค่อย ๆ สั่งสมเป็นชั้น ซ้อนทับ ต่างสีสัน เมื่อเพ่งมองพบว่า หนังสือที่ใช้สร้างงานเล่มนี้คือประวัติศาสตร์ศิลปะฉบับมาตรฐาน ยิ่งตอกย้ำความสัมพันธ์ระหว่าง "ความรู้มาตรฐาน" กับ "ความทรงจำส่วนบุคคล" แม้จะมีส่วนที่เหลื่อมซ้อนไม่คงที่และแตกต่างกันออกไป แต่ความ รู้ทั้งสองนี้ก็ยังมีส่วนที่ละม้ายคล้ายคลึงให้ความรู้สึกร่วมกันอยู่ด้วย
"ชีวิต : บนพื้นฐานแห่งความจริงและจินตนาการ" โดย ทิพเนตร์ แย้มมณีชัย สัมพันธภาพแห่งชีวิตมนุษย์ สัมพันธ์ กับความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ซึ่งนำพาชีวิตมุ่งสู่กฎเกณฑ์ทางด้านความจริง อันเกิดจากการพัฒนา แสวงหาประโยชน์จากความเจริญทางด้านวัตถุ การลุ่มหลงในโลกแห่งวัตถุเป็นเหตุแห่งความบกพร่องภายในจิตใจ ฉะนั้นการหลอมรวมความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เจริญควบคู่กับศิลปวัฒนธรรมอันเป็นตัวแทน แห่งจิตวิญญาณ ทำให้ก้าวข้ามกฎเกณฑ์พันธนาการจากความเจริญภายนอก นำไปสู่การพัฒนาด้านจิตใจ ความคิด เพื่อความสุขแห่งจินตนาการอันบริสุทธิ์
"รฤก ละ วาง" โดย วิรัญญา ดวงรัตน์ หนังสือสมุดไทยจัดวางภาพทางตั้งแทนทางนอนตามปกติ หน้าปกหนังสือ เป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินเปล่งปลั่งในช่วงบนของพระองค์ถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกและคลื่นคราบของสีที่ ยากจะคาดเดาราวกับขัดแย้งดิ้นรน เมื่อพลิกไปหน้าถัดไปเป็นภาพพระพุทธเจ้าที่ไม่สมบูรณ์ เมฆหมอกดูจะทำงาน ได้ชัดเจนขึ้นไปทีละหน้า ราวกับซูมภาพเข้าไปภายในจิตของศิลปิน (หรือในจิตใจของผู้ดูเองก็ไม่แน่) แผ่นโลหะขนาด เล็กเจาะรูวางบนหน้ากระดาษที่มีคราบสีน้ำตาลบนหน้าซ้าย ทำงานร่วมกับใบบัวตากแห้งซ้อนทับกับกระดาษบาง เปิดให้เห็นส่วนกลางของใบหน้า ถัดไปเป็นดอกไม้แห้งบนหน้าซ้ายปะทะสังสรรค์กับผีเสื้อโลหะในหน้าขวา หน้าถัด ไปเป็นคราบสีน้ำตาลมีรูขนาดต่าง ๆ เคียงกันกับดอกปีบแห้ง จัดวางแบบตั้งขึ้นบนและกลับลงล่าง สัญลักษณ์ทั้งพุทธ ศาสนาและความเป็นผู้หญิงอยู่ร่วมกัน การสอดประสานที่ไม่กลมกลืนนักของสัญลักษณ์ทั้งหลาย ราวกับจะตั้งคำถาม ต่อกระบวนการบางอย่างที่เอื้อนเอ่ยเป็นตัวอักษรและภาษาได้ยาก จนหน้าคู่สุดท้ายของเล่มจึงเป็นความโปร่งเบาของ สัญลักษณ์ที่จัดเรียงกันสัมพันธ์บนล่างทั้งสองหน้า วัสดุธรรมชาติขนาดเล็กที่ถูกติดเป็นจังหวะที่ปกหลัง ราวกับให้คำ ตอบว่าอยู่ในวิถีนั้นเอง ความไม่แน่นอนของขนาดองค์ประกอบต่าง ๆ ราวกับเรากำลังซูมเข้า ออกสภาวะต่าง ๆ ที่ ศิลปินกำลังนำเสนอความคมชัดและการเบลอก็เช่นกัน
"จากดวงตาสู่ภายใน" โดย นาวิน เบียดกลาง หนังสือลักษณะเหมือนสมุดโน้ตสี่เล่มวางตัวเรียงกัน เผยให้เห็นส่วน ของเล่มที่สอง สาม สี่ หน้าปกของเล่มแรกเป็นภาพลายเส้นภาพเหมือนที่ละเอียดบรรจงและหนักแน่นด้วยฝีปากกาที่ ประทับให้เกิดร่องรอยลึกบ้าง บางบ้าง ตามแต่จุดของใบหน้า เมื่อเทียบกับลูกตาที่ถูกวาดอย่างสมบูรณ์ที่ย่อมสื่อความ ถึงจิตใจของเจ้าของภาพตามสำนวนที่ว่า "ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ" ลูกตาที่ถูกเจาะไว้ของหน้าปกนี้จึงเป็นด้าน กลับ และสร้างคำถามต่อถึงสภาวะบางอย่างมากกว่าจะเฉลยออกมาให้หมดเปลือก เมื่อมองทะลุดวงตาเข้าไปเห็นชื่อ และลายมือของศิลปินที่ไม่สมบูรณ์ ความหมายที่ว่า ไม่อยากให้คนรู้จักตัวเองหรืออยากให้รู้จักมากขึ้น กรุณาห่างออก ไปหรือมาทำความรู้จักกันเถอะ ย่อมเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างศิลปินกับผู้ชม
"หน้า ที่ไม่มีวัน จบ" โดย ธณฤษภ์ ทิพย์วารี หน้าหนังสือที่ประกอบกันขึ้นอย่างหลวม ๆ ของภาพเหมือนศิลปินใน รูปแบบต่าง ๆ ค่อย ๆ เผยให้เราเห็นบุคลิกที่ตรงไปตรงมาภายใต้กระแสความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไปของบุคคล ถ้าภาพ เหมือนพยายามจะแสดงความเหมือนในทางใดทางหนึ่ง ภาพเหมือนบุคคลจำนวนมากย่อมทำให้เห็นบุคคลผ่านช่วงเวลา เราจะรู้จักใครสักคนผ่านชุดของภาพเหมือนได้หรือไม่? ในทางอารมณ์ ความคิด ความหวังไปจนกระทั่งความทรงจำ
"กาลเวลา" โดย จินตนา เปี่ยมศิริ หนังสือเย็บมือจากกระดาษสา ด้านที่เย็บริมขอบเล่มยังหลุดลุ่ยราวกับถูกปล่อย ปละละเลยไม่ใส่ใจ หน้ากระดาษแต่ละแผ่นที่ไม่มีความแน่นอน ปะติด เปิดได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เรียงตัวกันลดหลั่นเป็น เนินเขา เราไม่แน่ใจว่าปลายด้านของกระดาษเหมือนเป็นรอยคราบสีน้ำตาลหรือรอยไฟไหม้ที่ไม่สม่ำเสมอ แต่ที่พอจะเข้าใจได้คือความรู้สึกที่ปวดร้าวของศิลปิน ความไม่สมบูรณ์ของความรู้สึก หน้ากระดาษที่ว่างเปล่า ความโศกเศร้า ที่ไม่สามารถขจัดออกจากใจ
"Book – Notebook 2470 – 2559" โดย ปราการ จันทรวิชิต ตัวเลขพุทธศักราช 2470 – 2559 ชวนให้ขบคิด ว่าต้องมีอะไรเป็นต้นกำเนิดที่ปีแรกและอะไรเป็นตัวจบที่ปีหลัง เมื่อเปิดหน้าหนังสือเข้าไปพบหน้าตาของคีย์บอร์ด กระดาษสีขาวไม่มีรายละเอียด หน้ากระดาษที่เหลือจนกระทั่งหน้าที่ 53 ถูกปล่อยว่างขาวโพลนราวกับความทรงจำที่ ไม่หลงเหลือ หรือในอีกด้านหนึ่งคือการกระตุ้นให้เกิดความทรงจำใหม่ ๆ ผ่านทางพื้นที่ว่างเปล่านี้เอง
"สถานีสยาม" โดย สืบสกุล ศรัณพฤฒิ กล่องไม้สีขาวเมื่อเปิดออกแบบหนังสือ เห็นภาพที่ระลึกการเปิดสถานีรถไฟ ในพ.ศ. 2489 ถัดมาอีก 25 ปี แผนที่ระบายสีจากตำราเรียนที่คนรุ่นหนึ่งคุ้นตา ให้ภาพเส้นทางรถไฟที่เราก็ทราบกันดี ว่าผ่านมาอีก 46 ปี เส้นทางก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือมีรถไฟที่ดีขึ้นเท่าใดนัก หนึ่งในความล้มเหลวในกระบวนการพัฒนาสมัย ใหม่แสดงออกมาอย่างเรียบง่าย อาศัยสื่อทั้งที่ไม่เคยเห็นหนังสือและที่เป็นหน้ากระดาษจากหนังสือ
"Sculp-Ture Today" โดย อนุพงษ์ จันทร หนังสือเสมือนพาดพิงถึงทั้งแนวทางของศิลปะร่วมสมัยและบทบาทของ หนังสือในฐานะเครื่องมือเพื่อสถาปนาเนอื้ หาของศลิ ปะรว่ มสมัย การเปลี่ยนจากสอื่ ทอี่ บอ่นุ มีพื้นผิวสัมผสั แบบกระดาษ เป็นบรอนซ์ที่เยียบเย็นและมีน้ำหนักชวนให้ท้าทายการรับรู้ของเรา หนังสือที่เปิดไม่ได้ย่อมไม่ใช่หนังสือ หนังสือที่เปิด ไม่ได้นั่นแหละคือหนังสือที่แท้จริง ข้อถกเถียงนี้จะมีความหมายอย่างไรขึ้นอยู่การตีความของผู้ชม เช่นเดียวกันกับที่ ปราชญ์ตะวันตกเคยถกเถียงกันเมื่อกว่าพันปีมาแล้วว่าหนังสือ (บางเล่ม) ควรเปิดอ่านหรือไม่