“หลุมหลบภัย” Air Raid Shelter

หลุมหลบภัย

ชื่อศิลปิน   สุธิพงษ์ สุดสังข์ / Suthiphong Sudsang

ชื่อผลงาน   หลุมหลบภัย

ชื่อผลงาน (ภาษาอังกฤษ)   Air Raid Shelter

ประเภท   สื่อผสม

ขนาด   62.5 x 200 cm

เทคนิค   กระบวนการไซยาโนไทป์ หล่อปูนซีเมนต์ และวิดีโอจัดวาง / Cyanotype process, cement casting and video

นิทรรศการ   การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 38 พ.ศ. 2565

รางวัลที่ได้รับ   เกียรตินิยม เหรียญเงิน “ศิลป์ พีระศรี”

ผู้ครอบครอง   มหาวิทยาลัยศิลปากร

ป้อมยามและหลุมภัยที่ปรากฏตัวขึ้นทุกย่อมหญ้าภายในรัศมีของเทือกเขาดงเร็กอันเลื่องชื่อแห่งนี้ เป็นที่อยู่อาศัยของชาวเขมรป่าดงมานานนม ชื่อเขมรป่าดงนี้เป็นที่เลื่องลือในหมู่ชาวกรุงศรีฯ ว่าชนเหล่านี้มีวิชาในการจับช้างป่ามานักต่อนัก ด้วยศิลปวิทยาการของนักล่าอณานิคมชาวฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพลอยู่เหนือสยามและกัมพูชา เหตุการณ์ปากน้ำเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้สยามต้องเสียพื้นที่จังหวัดติดแนวชายแดนเทือกเขาดงเร็ก ทว่าจะด้วยความจำยอมหรือไม่จำยอมนั้น ฝรั่งเศสดำเนินการเขียนแผนที่สยามฉบับ พ.ศ. 2450 ซึ่งเป็นที่ปรากฏแก่ชาวโลกว่าปราสาทพระวิหารนับจากนั้นกลายเป็นดินแดนของฝรั่งเศสเรื่อยมาจนกระทั่งช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พระวิหารที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ได้กลับคืนมาสู่สยามอีกครั้ง จากชัยชนะของไทยเหนือดินแดนฝรั่งเศสพร้อมกับอนุสรณ์กลางกรุงฯ เพื่อเป็นการยืนยันและรำลึกถึงวีรบุรุษที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้ พ.ศ.2554 ขณะนั้นผมเรียนอยู่ชั้น ป. 6 เป็นที่รู้จักกันดีว่าโรงเรียนอนุบาลดำรงราชานุสรณ์ เป็นที่ตั้งของอนุสรณ์ที่รำลึกถึงสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในการเสด็จประพาสมณฑลอีสานและปราสาทพระวิหาร ซึ่งศาลโลกใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการยืนยันถึงการจำยอมสละดินแดนปราสาทนี้ ขณะเลิกเรียนผมเดินทางกลับด้วยรถรับส่งนักเรียน พร้อมกับเสียงระเบิดดังอย่างต่อเนื่องและผมไม่มีอาการตกใจแม้แต่อย่างใด เนื่องจากบริบทพื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยค่ายเล็กใหญ่กระจายอยู่ทั่วรัศมีพนมดงเร็ก ซึ่งทุกคนภายในรถเข้าใจผิดว่าเป็นการซ้อมใหญ่ของเหล่าทหาร เมื่อถึงบ้าน ผมเอะใจ ยายของผมบอกให้รีบเก็บเสื้อผ้าและของมีค่าให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากพื้นที่หมู่บ้านของเราเป็นพื้นที่เสี่ยงวิถีกระสุนปืนของกัมพูชา แต่เวลาช่วงหัวค่ำของวันเหตุการณ์ก็สงบลง ขณะผมเดินทางออกห่างจากบ้านได้เพียง 30 กม. ผลงานชุดนี้เป็นการสำรวจพื้นที่บริเวณหมู่บ้านตามแนวชายแดนเขาพนมดงเร็กใน อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ที่สะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ในพื้นที่แห่งนี้ ที่ถูกจัดระเบียบและถูกควบคุมโดยเหล่าผู้มีอำนาจ จากรัฐจารีตโบราณมาสู่รัฐชาติสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสยาม ไทย คอมมิวนิสต์หรือเขมรแดง ด้วยการปลูกฝังความเป็นชาตินิยมให้กับประชาชน อาจนำมาซึ่งการสร้างความโกรธแค้นหรือทำให้ความสัมพันธ์ของเราห่างไกลจากกันไปเรื่อย ๆ แม้ในขณะนี้ปราสาทจะถูกปิดประตู ถนนหนทางจะถูกปิดประตู แต่เราคือคนที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้นมานานนม ตราบเท่าอายุขัยของปราสาทแห่งนี้ Keeper’s boxes and bunkers are scattered nearby the famous Dângrêk Mountains in which Khmer ethnic groups lived. These people were known to trap elephants proficiently in the Ayutthaya period. Due to the colonization of the French in Siam and Cambodia, Siam lost the land bordering the Dângrêk Mountains. Whether it was in fact by force or by choice, the French drew up a map of Siam in 1907, declaring to the world that Preah Vihear Temple had been under their possession until the Second World War, the period in which Siam took the ownership of the Temple once again after winning a battle over the French colony. A monument was, therefore, constructed to commemorate the fallen heroes in that battle. In 2011, when I was a sixth grader, it was widely known that Anuban Damrongrajanusorn School was where there was a monument of the Prince Damrong Rajanubhab when he visited Isan region and Preah Vihear Temple. This, in fact, was used as evidence when International Court made the decision regarding the ownership of the Temple. At the time, I could hear explosion while I was on a school bus; however, I was not frightened at all because Dângrêk was already occupied by a number of military camps. Most students on the bus thought the explosion was part of the troop exercises, but I learned from my grandmother as soon as I got home that our village was at risk of being attacked by Cambodia. We had to pack our belongings and valuables and fled. At the break of dawn, the situation dialed down, and I was only 30 kilometres away from home. ‘Air Raid Shelter’ was created after the observation of villages along the border of the Dângrêk Mountains in Kantharalak district, Si Saket, in order to illustrate the history of the place under the sovereignty of colonial power, the traditional state, and modern state, whether it was Siam, Thailand, the Communists, or Khmer Rouge. By instilling nationalism in people, the divide among the neighbors and anger became more prominent. Even though the gates and the paths to the Temple have long been closed, I am one of those who spent a lifetime in that area.