ในปัจจุบันมนุษย์หาวิธีการทดลองมากมายเพื่อให้ได้ในสิ่งที่มนุษย์ต้องการ เช่น การทดลองเพื่อให้ได้อะไหล่อวัยวะ สำหรับนำมาซ่อมแซมตนเอง ผู้สร้างสรรค์จึงมีความสนใจในการทดลองพันธุวิศวกรรม เนื่องจากสามารถนำยีนของสิ่งมีชีวิตมาผสมกันข้ามสายพันธุ์ได้ เช่น การนำยีนของปลาขั้วโลกเหนือมาผสมกับมะเขือเทศเพื่อให้ปลูกในพื้นที่หนาวเย็นได้ ซึ่งในอนาคตอาจไม่ต้องกังวลถึงการใช้สิ่งมีชีวิตเข้ามาทดลอง แต่ใช้เพียงการผสมยีนของมนุษย์เข้ากับพืชผลไม้ เพื่อให้ได้อวัยวะของมนุษย์ในการปลูกถ่ายอวัยวะ จึงได้สร้างสรรค์ผลงานโดยนำรูปทรงของอวัยวะมนุษย์มาผสมผสานเข้ากับพืชผลไม้ ทั้งลักษณะท่าทาง พื้นผิว โครงสร้าง และการเปรียบเทียบ เช่น ตาสับปะรด ฟันเมล็ดข้าวโพด องุ่นนิ้ว ใบหูส้ม อันแสดงถึงการผสานสิ่งหนึ่งเข้ากับอีกสิ่งหนึ่ง เพื่อให้เกิดความผิดแปลกแตกต่างจากรูปทรงเดิมตามธรรมชาติ
At present, through a variety of experiments, humans seek ways to acquire what they want such as producing artificial organs as supplies to prolong their lives. The creator of this work, therefore, was interested in genetic engineering, the field in which genes can be cross-bred. For instance, a combination of the genes of fish from the North Pole and tomatoes could potentially result in a new type of crop which can be cultivated in cold climate. If this is achievable, there will no longer be a concern over the employment of living creatures in experimentation while the engineering of artificial organs can possibly be achieved through a combination of human genes and plants. This led to the composition of this work, using the figures of human organs combined with vegetables and fruits, mimicking textures, shapes, and comparison such as the “eyes” of pineapples, corn “teeth” in place of kernels, finger-shaped grapes, and earlobes in oranges, all of which are artistically absurd and unlike their natural forms.