“1271 ไม้กับความรู้สึก / 1271 Wood – Emotional”

1271 ไม้กับความรู้สึก  / 1271 Wood – Emotional

ชื่อศิลปิน   สุกัญญา สอนบุญ

ชื่อผลงาน   1271 ไม้กับความรู้สึก / 1271 Wood – Emotional

ประเภท   ประติมากรรม

ขนาด   180 x 190 x 177 ซม.

เทคนิค   ประกอบไม้ เพลาะไม้ด้วยกาวร่วมกับเดือยกลม / Glued and dowelled joint

นิทรรศการ   การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 68 พ.ศ. 2566

รางวัลที่ได้รับ   รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทประติมากรรม

ผู้ครอบครอง   มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศิลปินต้องการถ่ายทอดความรู้สึกภายในของผู้หญิงผ่านวัสดุ และกระบวนการการประกอบไม้ เข้าไม้ ให้เป็นรูปทรงแทนการแสดงออกจากความรู้สึก คำพูด สายตา และสรีระทางร่างกาย โดยการตีความจากการสร้างความหมายใหม่ ด้วยการสร้างรูปทรงจากความรู้สึกของความทรงจำในอดีตและประสบการณ์ในชีวิตที่เคยได้รับมา การเพลาะไม้ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการของงานช่างไม้ เพื่อแสดงความเป็นปึกแผ่น ความมั่นคง ความแข็งแรง ด้วยวิธีการตัดไม้ตามเสี้ยนและขวางเสี้ยนเพื่อให้เกิดลวดลายที่แตกต่างกัน และกำจัดความหยาบกระด้างของไม้ด้วยการสกัด ขัด เกลา จนความหยาบกระด้างนั้นหายไป เปลี่ยนความแข็งกร้านของไม้ให้อ่อนนุ่ม เปรียบเสมือนการขัดเกลาจิตใจของตนเอง ที่แสดงสภาวะทางอารมณ์อ่อนโยนเปรียบเสมือนสภาวะทางอารมณ์ของผู้หญิงที่มีความอ่อนไหวกับเรื่องราวต่างๆ โดยแฝงให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง ความเข้มแข็ง และความอดทนนั้น ต้องอยู่ควบคู่กับความอ่อนโยน อ่อนน้อม หรืออาจเรียกว่า “อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ แข็งแกร่งแต่ไม่แข็งกระด้าง” เป็นการตีความเพื่อสร้างเนื้อหาทางความคิดจากเรื่องราวประสบการณ์ในชีวิตผ่านเทคนิคกระบวนการของงานช่างไม้ เพื่อสำรวจและทำความเข้าใจยอมรับเรียนรู้ผลจากเหตุการณ์การต่างๆใช้เป็นหลักในการดำรงชีวิตในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งสังคม ชีวิต และเรียนรู้ในสิ่งที่หลงเหลืออยู่ให้มีความสุขในพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวได้อย่างสมดุล The artist aims to use wooden objects to illustrate women’s emotions. Rather than using words, eye gazes, or gestures, the artist reinterprets wooden materials and how they are jointed to express feelings and memories collected from personal experiences. Wood joints in particular demonstrate solidarity, stability, and strength, whereas crosscut and circular wood sawing techniques offer a variety of distinguished patterns. Similar to how rough-sawn surfaces are sand-downed to bring forth smoothness, harshness in humans can also be softened down. While the smooth surfaces of wood represent women’s emotional sensitivity, the hardness of the wood shows the strength and patience that coexist. It can be suggested that, women are “soft but not weak, strong but not hardened.” Using woodwork to bring the experience to life, the artist shows the acceptance of every happenstance in life and society that can all coexist in balance.