ขยะและเศษวัสดุที่ชํารุดเสียหาย ไร้ค่า เมื่อนำกลับมาสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการทางศิลปะ เติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปด้วยจินตนาการ จนกลายเป็นวัตถุใหม่ที่มีรูปร่างและคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไป การแปลงเศษชิ้นส่วนจากอะไหล่เครื่องยนต์ให้กลายเป็นผลงานศิลปะ คือวิธีการพยายามเรียกคืนความเป็นมนุษย์ ไม่ปล่อยให้ระบบอุตสาหกรรมมีอํานาจเหนือกว่า ด้วยกระบวนการพับกระดาษ เป็นการทำซ้ำด้วยแรงมือที่ผสานไว้ซึ่งความเอาใจใส่ ละเอียดอ่อนและประณีต มีความย้อนแย้งกับวัตถุที่หยาบและแข็งกระด้าง ผลงานแต่ละชิ้นสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อยกระดับความหมายของผลผลิตจากแรงงานมนุษย์ โดยมีรูปแบบการนำเสนอให้วัตถุเดิมเกิดนัยยะได้ด้วยบริบทที่เปลี่ยนไป จากวัตถุเดิมที่มีหน้าที่และความหมายในทางอุตสาหกรรม ไปสู่รูปทรงนามธรรมที่ให้สาระในภาษาของศิลปะ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับวัตถุสิ่งของ การเผชิญหน้าระหว่างความเป็นมนุษย์และเครื่องจักร รวมไปถึงการเผชิญหน้าของวัตถุด้วยกันเอง
Worthless wasted and damaged materials has been creatively used to produce a work of art, while filling the missing gaps with imagination. Newly shaped objects with new properties have been constructed by transforming engine parts into the artwork. Correspondingly, it is an effort to restore the state of being a human who never allows the industrial system to be superior to them by using origami. The origami is a technique that use power of hands to construct and reconstruct materials with attentiveness, delicacy, and preciseness, contrary to the harshness and rigidness of their texture. Each piece is intended to elevate the meaning of the production by humans who can present the original materials with the new implications in the changing context. The original materials carrying industrial connotations are transformed into other shapes carrying the abstractness through the language of art that reveals the relationships between human beings and materials, and the confrontation between humans and machines, and among the materials themselves.