จากข้อมูลทางสถิติของกรมป่าไม้ 2563 และรายงานสถานการณ์ป่าไม้ในประเทศไทย 2562-2563 จากมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้ระบุถึงพื้นที่ป่าของภาคอีสานที่มีปริมาณน้อยที่สุดในประเทศไทย จังหวัดมหาสารคามมีพื้นที่ทรัพยากรป่าไม้น้อยที่สุดเพียง 3.80% ของภูมิภาค เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ของจังหวัดและสืบเนื่องมาจากแผนนโยบายในการที่อนุญาตให้มีการทำสัมปทานป่าไม้ในภาคอีสาน จากข้อบ่งชี้ดังกล่าว จึงนำมาซึ่งวิกฤตการณ์อุทกภัยในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำชีในปัจจุบัน และส่งผลถึงความไม่ผาสุกของทุกสรรพชีวิต ผลงานศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้นี้ได้นำเสนอเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่บ้านเกิดเมืองนอน รูปทรงของมนุษย์ สัตว์ที่โบยบิน พุ่มดอกหญ้าที่ปลิดปลิว รวมถึงต้นไม้ใหญ่ที่ถูกตัดโค่น สร้างสรรค์บนแผ่นแม่พิมพ์จากไม้จริงขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการย้ำเตือนและการตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ ตระหนักถึงต้นไม้ใหญ่ที่ล้มหายจากไป ตระหนักถึงต้นเหตุและปลายของผลที่ได้กระทบต่อทุกชีวิต เพื่อความเข้าใจและเคารพต่อธรรมชาติเพราะมนุษย์นั้นก็คือส่วนหนึ่งในธรรมชาติ
The artwork depicts a series of flooding events in the artist’s homeland. The shapes of humans, flying creatures, grass flowers blown by the wind, and the trees being cut down are portrayed. The single sheet of real wood was purposefully used to remind those who appreciate this work of art the values of natural resources, recall their memories of the large trees that are already gone, and make them realize the causes and consequences of the impact. It also aims for enhancing the understanding and respect of nature since humans are a crucial part of it.