ในหลายๆวัฒนธรรมเรามักจะได้ยินคำว่าประเพณีมาคู่กับพิธีกรรมเสมอ เนื่องจากสองสิ่งนี้มีนัยยะผูกพันกันโดยมีความเชื่อเป็นรากฐานสั่งสมเรื่อยมา ซึ่งกาลเวลาได้เชื่อมโยงพิธีกรรมจากประเพณีของหลากหลายวัฒนธรรมความเชื่อเข้าไว้ โดยมีกุศโลบายในเรื่องความดีเป็นตัวเชื่อม แม้แต่พิธีศพอันเป็นพิธีสุดท้ายของความตายซึ่งเป็นสัจธรรมชีวิต ซึ่งไม่แบ่งแยกความแตกต่างของมิติทางเชื้อชาติและคติความเชื่อ
พิธีพระอภิธรรมศพชาว “ไทยพุทธ” เชื้อสาย “ไทยดำ” เกิดจากการหลอมรวมคติความเชื่อจากรากประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาติพันธุ์ไทยโซ่ง ผสมผสานกับพระพุทธศาสนาในแง่พิธีกรรมเชื่อมโยงเข้าด้วยศรัทธาในศาสนา และการกระทำความดีที่ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ สื่อผ่านความรักของครอบครัวที่ระลึกถึงคุณงามความดีของผู้ล่วงลับที่ไม่ต้องเรียกร้องป่าวประกาศจากสิ่งใด เสมือนลวดลายด้านใน “เสื้อฮี” ไทยดำของผู้ล่วงลับที่ถูกพลิกลวดลายออกมาคลุมร่างเจ้าของเอาไว้ในวาระสุดท้าย ดั่งความงดงามจากคุณค่าของการทำความดีที่สั่งสมไว้ จะติดตัวผู้กระทำตลอดไป
Traditions and ceremonies are often referred to interchangeably as both are deeply rooted in beliefs. Time has tied traditions and ceremonies in many cultures together under the belief in goodness or virtues. Even a funeral for the dead, the last ceremony closing the chapter of life, is held to reinforce the indiscriminate nature of life regardless of ethnicities or faiths.
Funerals for “Buddhist Thai” or “Thai Dam” combine traditional belief and culture exclusive to “Thai Song” tribe and Buddhist ceremonies, which stress the importance of good deeds, virtuous things that cannot be divided by roots or origins. The love of the family reminiscing the good deeds done by the dead need no extravagant recognition. The tribal shirt the Thai Dam who pass away wear is turned inside out and used to cover the body, revealing the elaborate pattern underneath that reflects good deeds the dead will carry on eternally.