“ห้วงทุกข์”

ห้วงทุกข์

ชื่อศิลปิน   อภิชาติ เอี่ยมวิจารณ์

ชื่อผลงาน   ห้วงทุกข์

ประเภท   จิตรกรรม

ขนาด   244 x 500 ซม.

เทคนิค   วาดเส้นด้วยความร้อนจากเหล็กเผาไฟ

นิทรรศการ   การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 54 พ.ศ. 2551

รางวัลที่ได้รับ   รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน (จิตรกรรม)

ผู้ครอบครอง   มหาวิทยาลัยศิลปากร

นรกในความเชื่อความหมายของพุทธศาสนานั้น นรก คือดินเเดนหรือภพภูมิที่เต็มไปด้วยความร้อนของไฟนรกที่เผาผลาญกายของสัตว์นรกได้รับความทุกข์ทรมานอย่างเเสนสาหัส ตราบเท่าที่กรรมชั่วที่สัตว์นรกนั้นได้สร้างไว้เมื่อครั้งเป็นมนุษย์จะได้ชดใช้จนหมดสิ้นไป จากนั้นก็จะเกิดในภพภูมิอื่นๆต่อไปตามเเต่อำนาจเเห่งกรรมชั่วที่สัตว์นรกนั้นได้สร้างไว้ หรือการกระทำของตน พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า จิตเต สังขิริตเร ทุกคติ ปาติกังขา เเปลว่าก่อนจะตายจิตเศร้าหมอง ทุกคติพึงหวังไว้ การกระทำบาป หรืออกุศลกรรม ทางกาย วาจา เเละจิตนั้นเป็นการสั่งสมกรรมชั่วไว้ในจิตของตนเมื่อตายจากความเป็นมนุษย์กรรมชั่วที่เคยกระทำสั่งสมไว้นั้นมีน้ำหนักหรือปริมาณที่มากกว่ากรรมดีกรรมชั่วนั้นจะนำพาจิตวิญญาณให้ลงไปอุบัติบังเกิดเป็นสัตว์นรกในอบายภูมิเพื่อชดใช้หนี้กรรมการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อนรับทุกข์รับโทษในขณะที่เป็นมนุษย์ด้วยความเห็นแก่ตัวความประมาทขาดสติระลึกรู้และขาดปัญญาเป็นการกระทำที่ทำร้ายตนเองอย่างน่าสงสารความเชื่อความศรัทธาต่อคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรื่องบาปเรื่องนรกนี้เป็นแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้านำเรื่องราวของนรกสวรรค์มาสร้างเป็นผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยด้วยเทคนิควิธีการวาดภาพด้วยความร้อนความทุกข์ทรมานของสัตว์นรกทั้งหลายตามจินตนาการและความคิดฝันส่วนตนข้าพเจ้าต้องการย้ำเตือนให้ผู้คนอื่นในปัจจุบันตระหนักและสำนึกในการสร้างความดีงามให้กับตนเองและผู้อื่นในสังคมอย่าตกเป็นทาสของวัตถุอย่าขาดสติจนต้องยื้อแย่งแข่งขันเบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ตัวเองต้องการเพียงเพื่อความสุขจอมปลอมชั่วครั้งชั่วคราวโดยหารู้ไม่ว่านั่นเป็นการสั่งสมความเลวไว้ในใจตนข้าพเจ้าต้องการที่จะเผยแพร่และรักษาคำสอนที่ข้าพเจ้าเชื่อว่าเป็นคนสอนที่เป็นสัมมาทิฐิคือคำสอนที่ถูกต้องไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาผ่านงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยที่มีคุณค่าทางศิลปะ

ดูแลและจัดการ : หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สถานที่ตั้ง : หอศิลป์สนามจันทร์