“ปฏิทินญัฮกุร 2565” Nyah Kur Calendar 2022

ปฏิทินญัฮกุร 2565

ชื่อศิลปิน   สุธีธิดา สีบุดดี / Sutheethida Sibuddee

ชื่อผลงาน   ปฏิทินญัฮกุร 2565

ชื่อผลงาน (ภาษาอังกฤษ)   Nyah Kur Calendar 2022

ประเภท   สื่อประสม / Multimedia

ขนาด   59 x 42 cm

เทคนิค   สื่อผสม / Mixed media

นิทรรศการ   การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 39 พ.ศ. 2566

รางวัลที่ได้รับ   เกียรตินิยม เหรียญเงิน “ศิลป์ พีระศรี”

ผู้ครอบครอง   มหาวิทยาลัยศิลปากร

ระบบการเขียนภาษาญัฮกุรในรูปแบบอักษรไทยเกิดจากการตกลงร่วมกันโดยชาวญัฮกุรทั้ง 3 หมู่บ้าน ในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ โดยมีที่ปรึกษาเป็นนักภาษาศาสตร์จากสถาบันวิจัยภาษาเเละวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล เริ่มจากการเลือกตัวอักษรไทย 1 ตัวอักษร เเทน 1 เสียง ยกเว้นบางเสียงที่ต้องใช้เครื่องหมายบ่งบอกเพิ่มเติม และเลือกคำภาษาญัฮกุรที่สามารถใช้ภาพวาดแทนได้ เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อความหมาย จากนั้นจึงนำไปทดสอบกับชาวญัฮกุรทั้ง 5 หมู่บ้าน ในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ เมื่อเดือนสิงหาคมเเละกันยายน ปี พ.ศ. 2546 ที่ผ่านมา และปรับปรุงการเขียนเรื่อยมาจนเสร็จสมบูรณ์ ผู้สร้างสรรค์มีความสนใจในประเด็นเรื่องความแข็งแรงของภาษา โดยจากการสอบถามปราชญ์พบว่าปัจจุบันภาษาไทยได้ถูกหยิบยืมมาเขียนในภาษาญัฮกุรทั้งหมด 29 ตัว ปรากฏอยู่ในการเขียนนิทานบอกเล่าเรื่องราวของชาวญัฮกุร ทว่าจากการประชุมสภาชนเผ่าพื้นเมือง พบว่าสิ่งที่กําลังจะถูกกลืนหายไปคือ ภาษาญัฮกุร เนื่องจากปรากฏในการสื่อสารของคนญัฮกุรเท่านั้น จึงนับเป็นหนึ่งในสิ่งที่เปราะบางมากที่สุด ทั้งนี้จึงมีการสนับสนุนการใช้ภาษาดังกล่าวผ่านการเรียนการสอนภาษาญัฮกุรในโรงเรียนที่ชุมชนบ้านไร่ เพื่อกระตุ้นให้เด็กนักเรียนกล้าพูดและสามารถเรียนรู้ไปพร้อมกับสิ่งต่างๆ ในโลกปัจจุบัน จึงได้นำข้อมูลดังกล่าวที่ได้มาจากการลงพื้นที่มาเป็นส่วนหนึ่งของผลงาน และเลือกใช้ภาษาญัฮกุร ภาษาพื้นถิ่นของชาวญัฮกุร จังหวัดชัยภูมิ ประเทศไทย เเละภาษาไทย มาเป็นองค์ประกอบหลักในสื่อสิ่งพิมพ์ที่ถ่ายทอดผ่านวัตถุในชีวิตประจําวันอย่าง ปฏิทิน ใช้ในการบอกวัน เวลา ปัจจุบันเเละอนาคต การสร้างปฏิทิน ศักราชไทยโดยมีภาษาญัฮกุรเเละวัฒนธรรม ประเพณี เหตุการณ์สําคัญของเเต่ละเดือนที่อ้างอิงจากปฏิทินเศรษฐกิจของชาวญัฮกุรในอดีตผ่านการออกเเบบที่ร่วมสมัย The Thai alphabets using in the Nyah Kur language are agreed upon by the Nyah Kur people from three villages in Satit, Chaiyaphum. With assistance of linguists from Research Institute for Languages and Cultures for Rural Development, Mahidol University, Thai alphabets were chosen to present different sounds, while certain sounds might require additional symbols or pictures to communicate words in the Nyah Kur language in a way that is easy to understand. The curated alphabets were then tested among the five Nyah Kur tribal villages in Satit, Chaiyaphum in August and September 2003 before developing further. With an interest in how secure the language is, the creator continued to study and discovered that 29 Thai alphabets are being used in the Nyah Kur language, particularly in folklores. However, after the local council meeting, it was revealed that the Nyah Kur language is at higher risk of disappearing since it is only used within the community. To secure its future, the Nyah Kur language is being taught in Baan Rai community schools to encourage children to confidently communicate in their tribal language while learning about current affairs. Therefore, the result of the field research is featured in this print work, using the Nyah Kur language and Thai. A daily item such as a calendar is written in the tribal language and includes significant traditions and occasions in each month, the information obtained from the economic history of the tribe.