“การดำรงอยู่ของนามธรรม” Abstract Existence

การดำรงอยู่ของนามธรรม

ชื่อศิลปิน   พีรวิชญ์ ใจห้าว / Peeravit Jaihaw

ชื่อผลงาน   การดำรงอยู่ของนามธรรม

ชื่อผลงาน (ภาษาอังกฤษ)   Abstract Existence

ประเภท   ประติมากรรม

ขนาด   150 x 135 x 70 cm

เทคนิค   จิตรกรรมบนประติมากรรมปูนปลาสเตอร์ / Painting on plaster casting

นิทรรศการ   การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 39 พ.ศ. 2566

รางวัลที่ได้รับ   เกียรตินิยม เหรียญเงิน “ศิลป์ พีระศรี”

ผู้ครอบครอง   มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผู้สร้างสรรค์ได้นำเรื่องราวของพิธีกรรมโรงครูมาสร้างสรรค์เป็นงานประติมากรรม ผ่านการใช้เทคนิคปั้นปูนและเขียนสีฝุ่นลงบนพื้นงานประติมากรรม เพื่อแทนความหมายทางกายภาพของผลงาน โดยตัวงานประติมากรรมเปรียบเสมือนภาพแทนความเป็นจริง และงานเขียนสีสองมิติแสดงถึงความเชื่ออันเป็นนามธรรม สะท้อนผ่านผ้าคลุมที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ในลักษณะที่คลุมประติมากรรมอยู่ เพื่อทำหน้าที่แบ่งกั้นระหว่างจิตใจภายในกับโลกภายนอก ทำให้เกิดความคลุมเครือ เร้นลับ ซึ่งเป็นเสมือนการนำเอาความเชื่อมาแสดงให้ปรากฏเห็นและทำให้อยู่ร่วมกับความเป็นจริงได้อย่างแนบเนียน สิ่งเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อปลูกฝังทัศนคติ และค่านิยมแก่ลูกหลาน ตายายโนรา และชาวบ้านทั่วไป ให้สำนึกในความกตัญญูรู้คุณต่อครูบาอาจารย์ บิดา มารดา ตายาย ทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและยังมีชีวิตอยู่ให้มุ่งเน้นปฏิบัติดี ละเว้นความชั่ว ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม มีเมตตากรุณา มีความซื่อสัตย์ ไม่ผิดลูกผิดเมียผู้อื่น และตัดขาดจากอบายมุขทั้งปวง Inspired by Rong Khru ceremony, the sculpture combines stucco with tempera to showcase both concrete and abstract aspects of the traditional belief. The artist uses clots from the ceremony to cover the sculpture as a means to create a separation between internal and external worlds, highlighting the obscurity, mystery, camouflaging the belief with the real world. The objectives are to cultivate and pass on the traditional belief and wisdom to both children and adults as and to encourage a sense of gratitude for teachers, predecessors, and ancestors, both alive and passed. It serves as a reminder to maintain compassion, virtues, and moral standards.